เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู Information and Communication Technology for Teachers

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

              ระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร 
              ระบบสารสนเทศประกอบด้วย
ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น คีย์บอร์ด (keyboard) เมาส์ (mouse) จอภาพ (monitor) จอภาพสัมผัส (touch screen) ปากกาแสง (light pen) เครื่องอ่านรหัสแท่ง (barcode reader) เครื่องพิมพ์ (printer) ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเสื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น โมเด็ม (modem) และสายสัญญาณ
ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ( instruction ) ที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เพื่อให้ทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้ โดยทั่วไปโปรแกรม หรือชุดคำสั่งจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ
    • ซอฟต์แวร์ระบบ ( system software ) หมายถึง ชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ และทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
    • ซอร์ฟแวร์ประยุกต์ (application software) หมายถึง ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง ซอร์ฟแวร์ประยุกต์อาจเขียนขึ้นโดยใช้โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น เบสิก (basic) ปาสคาล (pascal) โคบอล (cobol) ซี (C) ซีพลัสพลัส (++) และวาจา (Java
            ข้อมูล(date) ข้อมูลจะถูกรวบรวมและป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า เช่น คีย์บอร์ด และ สแกนเนอร์ (scanner) ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในหน่วยความจำ (memory unit) ก่อนที่จะถูกย้ายไปเก็บที่หน่วยเก็บข้อมูล (storage  unit) เช่น ฮาร์ดดิสก์ และแผ่นซีดี (compact Disc : CD
            บุคลากร (people) บุคลากรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ ในที่นี้หมายถึงบุคคลากรที่เป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ ดังรูปที่ 1.11 บุคคลากรที่เป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศจะต้องมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพให้สามารถทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ง่ายและสะดวก ส่วนผู้ใช้ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการใช้งานระบบ สารสนเทศและการสื่อสารต่างๆ ได้อย่างถูกต้องจึงเกิดสารสนเทศที่เป็นประโยชน์
             ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (procedure) ระบบสารสนเทศต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นลำดับขั้นชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย และดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อข้อมูลได้รับความเสียหาย หรือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ เกิดการชำรุดเสียหาย 
                                     
แหล่งที่มา

          วิธีการเชิงระบบ (Systems Approach)
              วิธีการเชิงระบบ (Systems Approach) เป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดให้ เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานนั้น ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ถ้าระบบการทำงานใด ๆ มีผลผลิตหรือผลที่ได้รับ (output) ทั้งคุณภาพและปริมาณมากกว่าทรัพยากร หรือข้อมูล (input) ที่ใช้ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพ ในทางตรงกันข้ามถ้าหาระบบการทำงานใด มีผลผลิต หรือผลที่ได้รับต่ำกว่าทรัพยากรที่ใช้ไป ก็ถือว่าระบบนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพ (เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต. 2528)
             ขั้นตอนของวิธีการระบบที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ๆ เป็นสากล ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 
                    ขั้นที่ 
ปัญหา (Problem)
 
                    ขั้นที่ วัตถุประสงค์ (Objectives)                     ขั้นที่ ทรัพยากรและข้อขัดข้อง (Resources & Constraints)                     ขั้นที่ ทางเลือก (Alternatives)                     ขั้นที่ การเลือก (Selection)                     ขั้นที่ การทดลองและแก้ไข (Try-out and Revision)                     ขั้นที่ การนำไปใช้และปรับปรุงให้ดีขึ้น (Implementation & Improvement) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น